วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลักการทำงานของเคสCase



หลักการทำงานของเคสCase


          ภายในแคสจะมีช่องที่เรียกว่า เบย์ (bays) ซึ่งเป็นช่องที่ไว้สำหรับใส่ไดร์ฟต่างๆ เช่น CD-ROm, Floppy disk drive, tape drive คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีเบย์ประมาณ 3-4 ช่องและช่องสำหรับ Floppy disk drive ประมาณ 1-2 ช่อง นอกจากนี้ภายในยังมีเบย์เรียกว่า เบย์ภายใน สำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์ีอีกด้วย

          คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีแหล่งจ่ายไฟ เพราะกระแสไฟตามบ้านจะจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 150 ถึง 120 โวลต์ ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการไฟฟ้ากระแสตรง ประมาณ 5-12 โวลต์ คอมพิวเตอร์จึงต้องมีอุปกรณืที่เป็นตัวแปลงและจ่ายไฟเรียกว่า แหล่งจ่ายไฟ (power supply) ซึ่งจะมีพัดลมตัวเล็กๆ อยู่ใกล้เพื่อระบายความร้อน ที่มาจากหน่วยประมวลผล และอุปกรณ์อื่นๆ

ชนิดของเคส

1.ชนิด XT (Extended Technology) มีตั้งแต่สมัยรุ่น cpu 8088 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
2.ชนิด AT ( Advanced Technology ) ยังพอมีให้เห็นบ้างในเครื่องรุ่นเก่า
3.ชนิด ATX ( Advanced Technology Extended ) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในตอนนี้
เคสชนิดใด ต้องใช้กับ Power Supply และ Main board ชนิดเดียวกัน

Power Supply มีหน้าที่ แปลงไฟจากไฟบ้านซึ่งเป็นไฟ กระแสสลับ 220 โวลท์ ( ACV ) ไปเป็นไฟกระแสตรง ( DCV ) บวกลบ 5,12 โวลท์ เพื่อใช้ในการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์

แคสแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้ 2 ประเภทตามชนิดของเคสคือ แบบ AT และ แบบ ATX เนื่องจากโดยปกติเมื่อซื้อเคสเปล่า แหล่งจ่ายไฟ หรือ power supply จะติดมากับเคสด้วย ขนาดของแหล่งจ่ายไฟ
ในปัจจุบันจะมีขนาด 230 และ 250 วัตต์ และ 300 วัตต์ ถ้ามีอุปกรณ์ต่อพ่วง ในคอมพิวเตอร์เยอะก็ควรเลือกวัตต์สูงไว้ก่อน เมื่อแหล่งจ่ายไฟติดอยู่กับเคส ก็อาจจะเรียกรวมๆ ไป เช่น เคส 300 วัตต์ ATX เป็นต้น
ข้อแตกต่างระหว่าง Case แบบ AT และ ATX และสิ่งที่จะสังเกตุได้จากภายนอกก็คือ

AT

- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นเก่า ขนาดจะเล็กกว่า ATX

- บางเครื่องปุ่มสวิตย์เปิดปิด จะค้างแสดงคุณสมบัติเปิด-ปิด

- หลังจากปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมแล้วต้องกดปุ่มปิดอีกครั้งที่หน้า Case ด้วย

ATX

- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ ๆ

- ปุ่มสวิตย์เปิดปิดจะไม่ค้าง ( กดกี่ครั้งก็ไม่รู้ว่ากดไปหรือยังคือปุ่มจะเด้งกลับ )

- ปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมเท่านั้น

ไม่ต้องกดปุ่มปิดที่หน้า Case อีก (จะกดปุ่มสวิตย์เฉพาะตอนเปิดเครื่องเท่านั้น )

อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆในคอมพิวเตอร์



อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆในคอมพิวเตอร์



เมื่อ กรวยของลำโพงมีการเคลื่อนที่(ดูดเข้า-ผลักออก) มวลอากาศที่อยู่โดยรอบบริเวณด้านหน้ากรวย จะถูกบีบอัดและคลายตัวเป็นจังหวะที่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดคลื่นอากาศที่เรียกกันว่าคลื่นเสียง”(sound wave) การบีบอัดและคลายตัวของมวลอากาศนี่เอง ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้นำสารที่เป็นเสียงจาก ลำโพงไปสู่หูคนฟัง ลำโพงส่วนใหญ่จะทำการแปรเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าไปสู่พลังงานเสียง ซึ่งทำให้เกิดเป็นจริงเป็นจังได้โดยการออกแบบส่วนที่เรียกว่ากลุ่มขดลวดเคลื่อนตัว”(moving coil) สัญญาณไฟฟ้าจะไหลผ่านเส้นลวดที่อยู่รอบๆกลุ่มขดลวด และกลุ่มขดลวดนั้นถูกติดตั้งเอาไว้ในสนามแม่เหล็กอีกทีหนึ่ง กระแส สลับที่ไหลผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก เกิดปฎิกริยาทำให้กลุ่มขดลวดมีการเคลื่อนที่ มีผลให้กรวย(หรือไดอาแฟรม)มีการขยับตัวตามไปด้วย ในลักษณะของการผลักไปด้านหน้าและดึงกลับมาด้านหลังสลับไป-มาจนทำให้เกิดเสียง


หูฟังรูปแบบนี้จะมีจุกยางเสียบเข้าไปในรูหู โดยส่วนใหญ่จะให้จุกยางมาหลายขนาดเพื่อความเหมาะสมของสรีระของแต่ละคน ขนาดของหูฟังประเภทนี้จะมีขนาดเล็กที่สุด

ข้อดี
การใช้งาน: ข้อดีของหูฟังแบบแยงหูในแง่ของการใช้งานจะอยู่ที่ความเบา ไม่เจ็บหู และมีขนาดเล็กสะดวกต่อการพกพาติดตัว
คุณภาพ เสียง: ข้อดีของหูฟังแบบนี้จะให้เสียงกลางและแหลมที่มีรายละเอียดดี มีความเพี้ยนต่ำ เนื่องจากตัวลำโพงของหูฟังจะมีขนาดที่เล็กและอยู่ใกล้กับโครงสร้างของหูใน ส่วนที่ใช้รับเสียงมากกว่าหูฟังแบบอื่น ทำให้ไม่ต้องเปิดดังมากจนเกิดความเพี้ยนของเสียงเกิดขึ้น และหูฟังประเภทนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นหูฟังที่ให้ มิติเสียง ได้ดีที่สุดด้วย ทำให้การแยกแยะชิ้นดนตรีชัดเจน และเนื่องจากว่าตอนใช้งานต้องแยงลงไปในรูหู ซึ่งทำให้ช่วยบล็อกเสียงจากภายนอกไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปรบกวนได้มาก
ข้อด้อย
การ ใช้งาน: หูฟังประเภทนี้อยู่ที่ความอันตราย เนื่องจากตอนใช้งานจะต้องแยงเข้าไปในรูหูจนแน่น ทำให้คุณอาจจะไม่ได้ยินเสียงแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว จึงไม่ควรใช้งานในขณะทำกิจกรรมอื่นๆ บางอย่าง อาทิ ขณะขับรถ, ขณะเดินหรือวิ่งในที่สาธารณะที่มีการจราจรหนาแน่น
เครื่องพิมพ์

 เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
     1. เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printer) คื อเครื่องพิมพ์ที่อาศัยการใช้หัวเข็มไปกระแทกกระดาษ โดยผ่านผ้าหมึกทำให้เป็นจุดขึ้น ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด คุณลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์แบบนี้ คือ
                     สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีหลายสำเนาหลายชุดได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์หลายครั้ง ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบอื่นไม่สามารถทำได้ 
                    มีความทนทานในการใช้งานสูง 
                   สามารถพิมพ์กับกระดาษต่อเนื่องได้
2. เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Inkjet Printer) คือเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษ โดยหมึกจะถูกฉีดออกจากรูขนาดเล็กบนหัวพิมพ์ ซึ่งหมึกที่ใช้จะเป็นแม่สี 3 สี คือ แดง เหลือง และน้ำเงิน บางเครื่องจะใช้ 2 กล่อง คือ น้ำหมึกสีดำกับตัวแม่สี คุณลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์แบบนี้ คือ
                  สามารถพิมพ์ภาพสีได้ โดยมีตลับหมึกสีแยกอิสระ สามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้ 
                  คุณภาพการพิมพ์คมชัดกว่าแบบใช้หัวเข็ม ให้ความละเอียดสูง เหมาะสำหรับงานด้านกราฟิก และงานด้านการนำเสนอ(Presentation)
                 สามารถพิมพ์บนผิววัสดุอื่นๆ นอกจากบน กระดาษ
ได้ เช่น แผ่นใสสติกเกอร์ เป็นต้น
3. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) มีหลักการทำงานเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นเครื่องพิมพ์ที่พัฒนามาจากเครื่องพิมพ์แบบจุดและแบบฉีดหมึก สามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบอื่นและความคมชัดของงานดีมาก จึงได้รับความนิยมนำมาใช้งานในสำนักงานทั่วไป






Universal Serial Bus (USB) แฟลชไดรฟ์ คือ อุปกรณ์ ขนาดเล็กที่สามารถพกพา และใช้เสียบเข้ากับ USB พอร์ต ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ USB แฟลชไดรฟ์ใช้เก็บข้อมูลเช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ แต่แฟลชไดรฟ์สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ได้โดยสะดวก USB แฟลชไดรฟ์จะมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันไป และเก็บข้อมูลได้หลายกิกะไบต์ USB แฟลชไดรฟ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า เพนไดรฟ์ไดรฟ์พวงกุญแจคีย์ไดรฟ์ และ คีย์หน่วยความจำ 

โมเด็ม (Modem)


               เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล๊อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

               คำว่า โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน  หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล๊อกแล้วจึง สัญญาณกลับไปเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของเราต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความสามารถของโมเด็มเราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆได้หลายอย่างเช่น ใช้บริการต่างๆจากที่บ้านเช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต 
       ท่องไปบนอินเตอร์เน็ต 
       เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 
       ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 
       ส่ง-รับโทรสาร 
        ตอบรับโทรศัพท์

                 ความแตกต่างของโมเด็ม

                 1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ  ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม อื่นๆ มีหน่วยเป็นบิต /วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps)    ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ
                 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ
                 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax  capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
                  4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
                   5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)
            6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลักการทำงานของซีพียู (CPU: Central Processing Unit)



หลักการทำงานของซีพียู (CPU: Central Processing Unit)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปล ความหมาย และกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
            กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงาน เป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

การพัฒนาซีพียูก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชิบที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000 ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็น ซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิปประกอบรวมเป็นซีพียู

เทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนา ไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูล เข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฎิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิ้ล ก็เลือก ซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น
    เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของ ตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเตียม ตามลำดับ
การพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต ที่มีการรับข้อมูลจากภายนอกทีละ 8 บิต แต่การประมวลผลบวกลบคูณหารภายในจะกระทำทีละ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็ม เลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้ เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรกขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การับส่งข้อมูล ระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์) ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น
 
ความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใบ 1 วินาทีหรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นเป็นลำดับ
   ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุง ซอฟต์แวร์ระบบและเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)
   ในพ.ศ. 2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นคือ 6 เมกะเฮิรตซ์
   การทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับ หน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี
   ในพ.ศ. 2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนา โดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก เช่น รับส่งข้อมูล ครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติอต่อกับหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 บ้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมมาก และใน พ.ศ. 2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบ แตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus)
 
ผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นในพ.ศ. 2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SX
 
ซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้าง ภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอที ได้
 
พียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.ศ. 2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386
ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีก

  ในพ.ศ. 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเตียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเตียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต
การพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น
ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ หน่วยคำนวณ และ หน่วยควบคุม
1.หน่วยควบคุม (Arithmetic and logic unit)
          ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงาน ทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกา เป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน

2. หน่วยคำนวน (Control Unit)
          เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ เช่น
การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้นการคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุม
 มีหน่วยสำคัญอยู่  2  หลักการคือ
  1. หน่วยควบคุม
        คือ  เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดง ผล
 2. หน่วยคำนวณและตรรกะ
        คือ  เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ บวก  ลบ  คูณ  หาร
หลักการทำงานของ CPU
โดยวงรอบของการทำคำสั่งของซีพียูประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอนดังนี้
        1. ขั้นตอนการรับเข้าข้อมูล  ( fatch )
เริ่มแรกหน่วยควบคุมรับรหัสคำสั่งและข้อมูลที่จะประมวลผลจากหน่วยความจำ
        2. ขั้นตอนการถอดรหัส ( decode )
เมื่อรหัสคำสั่งเข้ามาอยู่ในซีพียูแล้ว หน่วยควบคุมจะถอดรหัสคำสั่งแล้วส่งคำสั่งและข้อมูลไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ
        3. ขั้นตอนการทำงาน ( execute )
หน่วยคำนวณและตรรกะทำการคำนวณโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับการถอดรหัสคำสั่ง และทราบแล้วว่าต้องการทำอะไร ซีพียูก็จะทำตามคำสั่งนั้น
        4. ขั้นตอนการเก็บ ( store )
หลังจากทำคำสั่ง ก็จะเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำ