วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การทำงานของจอภาพ (Monitor)




การทำงานของจอภาพ (Monitor)

จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ (Output) มีรูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ สามารถแสดง ผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
จอภาพโดยทั่วไปมีทั้งที่เป็นสีเดียว (Monochrome) อาจจะเป็นสีเทา สีส้ม หรือสีขาว บนสีดำ และจอภาพแบบหลายสี (Colour) สามารถแสดงสีได้ตั้งแต่ 16,256, 65,536 และ 16,177,216 สี ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสีมากกว่าจอสีเดียว
ขนาดความกว้างของจอภาพมีหลายขนาด ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปคือ ขนาด 14 และ 15 นิ้ว แล้วถ้าใช้งานสิ่งพิมพ์หรือ ออกแบบกราฟิก อาจใช้จอใหญ่มากขึ้น ขนาด 17 หรือ 21 นิ้ว ซึ่งก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลมากน้อยไม่เท่า กัน โดยความละเอียดของภาพจะมีหน่วยเป็น พิกเซล (Pixel) ในแนวตั้งและแนวนอน เช่น 640x480, 800x600, 1,024x768, 1,280x1,024 เป็นต้น ยิ่งมีขนาดของพิกเซลมาก ขนาดของภาพจะมีความละเอียดสูงมากขึ้น ทำให้มี เนื้อที่ใช้งานบนจอมากขึ้น
ลักษณะของจอภาพ มีดังนี้
1. จอภาพแบบ VGA (Video Graphics Array) มีความละเอียดของพิกเซล 640x480 จุด เหมาะสำหรับการใช้ งานตามบ้านทั่ว ๆ ไป มีขนาดของจอภาพ 14 หรือ 15 นิ้ว
2. จอภาพแบบ SVGA (Super Video Graphics Array) จะมีความละเอียดของพิกเซล 800x600 จุด เหมาะ สำหรับใช้ในงานธุรกิจ หรือตามสำนักงานทั่ว ๆ ไป ขนาดที่นิยมคือ 14 หรือ 15 นิ้ว ส่วนจอที่มีความละเอียดของ พิกเซล 1,280x1,024 จุด เหมาะสำหรับใช้ในงานออกแบบกราฟิกต่าง ๆ

จอภาพในปัจจุบันจะเน้นเรื่องความปลอดภัยต่อผู้ใช้จากการแผ่รังสี เพราะหากเป็นจอรุ่นเก่า รังสีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากจออาจเป็นอันตรายต่อสายตาได้ ผู้ใช้จีงควรหาแผ่นกรองแสงมาติดไว้ที่จอภาพก็จะช่วยได้และปัจจุบัน จอภาพที่ใช้จะมีคุณสมบัติประหยัดพลังงาน ถึงเราจะเปิดทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้ใช้งานก็จะไม่สิ้นเปลืองพลังงาน มาก นอกจากนี้ในโปรแกรมวินโดวส์ยังมีสกรีนเซฟเวอร์ช่วยในการถนอมจอภาพด้วย

Monotor Technology
จอภาพทำงานโดยการแสดงภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพกราฟิกหรือตัวอักษร ซึ่งเกิดจากการประมวลผลของการ์ดวีจีเอ (VGA Card) จอภาพแบ่งเป็น 2 ประเภท คือจอภาพสีเดียวหรือจอภาพโมโนโครม ( Monochrome) และจอสี ( Color Monitor) ปัจจุบันจอภาพสีเดียวนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ หากจะมีใช้ก็เฉพาะงานเฉพาะอย่างเท่านั้น ส่วนที่นิยมใช้ก็คือจอสี โดยแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภท คือจอสีวีจีเอ (VGA = Video Graphics Array) และจอสี Super VGA (SVGA = Super Video Graphics Array ) และจอ LCD (Liquid Crystal Display) ซึ่งประเภทหลังนี้มีราคาแพงมาก จอภาพที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือจอ SVGA เนื่องจากมีราคาไม่แพงมากนัก และเหมาะกับ Application ที่ออกแบบให้มีความสามารถแสดงภาพกราฟิก นอกจากนี้ Application ประเภทมัลติมีเดียหรือเกมส์ต่างๆ ต่างก็ต้องการจอภาพที่มีความละเอียดสูง (High Resolution) สามารถแสดงสีได้หลายๆสี
 จอภาพมีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์โดยจะมีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ( High Voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัว อิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง
 ความเป็นมาของการ์ดวีจีเอ การ์ดวีจีเอหรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ VGA Adapter Card ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดวีจีเอ เพื่อประมวล ในขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลจากดิจิตอลเป็นอนาล๊อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฏเป็นภาพบนหน้าจอสถาปัตกรรมของการ์ดวีจีเอ
แรกทีเดียว การ์ดวีจีเอใช้อินเทอร์เฟซ (Interface) แบบ VESA Local BUS สามารถประมวลผลแบบ 16 บิต ต่อมา เมื่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์เป็นไปในระดับสูงขึ้น Intel แนะนำ PCI Interface สู่ตลาด ภาคอินเตอร์เฟซของการ์ดวีจีเอจึงเปลี่ยนมาเป็น PCI เพราะมี Bandwidth สูงกว่า สามารถประมวลผลและส่งข้อมูลได้เร็วกว่า คือประมวลผลได้ 32 บิต และตัวการ์ดเอง ชิปประมวลผลทำงานภายในโดยการประมวลผลที่ 64 บิต ต่อมาในปี 2540 อินเทลได้พัฒนาพอร์ต AGP (Accelerator Graphic Port) ขึ้นมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นว่าพอร์ตแบบ PCI นั้นเป็นพอร์ตเอนกประสงค์ เหมาะสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทอื่นมากกว่าที่จะเหมาะสำหรับการ์ดแสดงผล ตามสถาปัตยกรรมของ AGP ภาคอินเตอร์เฟซของการ์ดจะติดต่อกับเมนบอร์ดแบบ 64 บิต
จอภาพผลึกเหลว 
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
จอพลาสม่า (plasma display)

 จอภาพแบบนี้จะใช้เทคโนโลยีอีกลักษณะหนึ่ง คือ แต่ละจุดบนจอประกอบด้วยจุดย่อยสามจุดสำหรับแต่ละสี แดง เขียว น้ำเงิน ซึ่งจะเรืองแสงจากการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อให้ก๊าซ ในหลอดเล็กๆ ตรงแต่ละจุดอยู่ในสถานะพลาสมา และเมื่อมีการ "สั่ง" ให้จุดนั้นสว่างขึ้น ก็จะมีการสร้างความต่างศักย์ที่ฉากเรืองแสงฝั่งตรงข้าม ทำให้เกิดการคายประจุออกมาและเกิดการเรืองแสงขึ้นจอแบบนี้ สามารถทำได้ขนาดใหญ่มาก เช่น 40 - 50 นิ้ว หรือกว่านั้น มีราคาสูงมาก มีน้ำหนักเบา สามารถติดผนังได้ ส่วนใหญ่ใช้ทำป้ายโฆษณาต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น